ชื่อไทย : ตาลเหลือง
ชื่อท้องถิ่น : กระแจะ (ระนอง,เหนือ)/กำลังช้างสาร (กลาง,เชียงใหม่)/ ขมิ้นพระต้น(จันทบุรี)/ แง่ง(บุรีรัมย์)/ ช้างน้าว(นครราชสีมา,อุดรธานี)/ ช้างโน้ม(ตราด,ปราจีนบุรี)/ ช้างโหม(ระยอง)/ ตานนกกรด(นครราชสีมา)/ ฝิ่น(กลาง,ราชบุรี)
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ochna integerrima (Lour.) Merr.
ชื่อวงศ์ : OCHNACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร ผลัดใบ บริเวณปลายกิ่งมีกาบค่อนข้างแข็ง เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องลึก  
ใบ :
เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรียาวขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม. ยาว 8-20 ซม. ปลายใบเว้าเล็กน้อย โคนใบสอบแคบ ขอบใบจักถี่ แผ่นใบเรียบ เกลี้ยงเป็นมันสีเขียว 
ดอก :
ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อกระจุกตามปลายกิ่งและซอกใบใกล้ยอด เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 3-4 ซม. ดอกเริ่มออกก็จะเริ่มทิ้งใบ กลีบเลี้ยงสีเขียวมี 5 กลีบ กลีบดอกย่นมี 5-10 กลีบ โคนเรียว หลุดร่วงง่าย มีกลิ่นหอมอ่อน
ผล :
รูปค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีดำ กลีบเลี้ยงยังคงติดอยู่บนผล แต่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง เมล็ด เมล็ดเดี่ยว สีเขียว
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : มกราคม สิ้นสุดระยะติดดอก : พฤษภาคม
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา

ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

การใช้งานด้านภูมิทัศน์

การปลูกและการขยายพันธุ์ :

                สภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดดจัด ทนแล้งได้ดี ถ้าปลูกในที่ชื้นจะผลัดใบไม่หมด และออกดอกน้อย

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และตัดชำราก

รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :

- ราก เป็นยาขับพยาธิและฟอกน้ำเหลือง

- เปลือกต้น มีรสขม ใช้แก้ไข้ ขับผายลม บำรุงหัวใจ

- เนื้อไม้ มีรสจืดเย็น แก้กระษัย ดับพิษร้อน แก้โลหิตพิการ

- ผล มีรสมันสุขุม บำรุงร่างกาย [1]

แหล่งอ้างอิง : [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] วชิรพงศ์ หวลบุตตา. 2542. ไม้ต้นประดับ เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร. [3] ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด http://www.panmai.com/ 23082553
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
ไม้ยืนต้น
พืชสมุนไพร
ที่อยู่ :
หมายเหตุ : ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554